วันเสาร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนครั้งที่ 2
วันพุธ ที่ 18 มกราคม พ.ศ 2560

ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ
1. กลุ่มเด็กที่มีลักษณะทางความสามารถสูง
  • มีความเป็นเลิศทางสติปัญญา เรียกโดยทั่ว ๆ ไปว่า “เด็กปัญญาเลิศ”
เด็กปัญญาเลิศ (Gifted Child)
  • เด็กที่มีความสามารถทางสติปัญญา 
  • มีความถนัดเฉพาะทางสูงกว่าเด็กในวัยเดียวกัน
ลักษณะของเด็กปัญญาเลิศ
  1. พัฒนาการทางร่างกายและจิตใจสูงกว่าเด็กในวัยเดียวกัน
  2. เรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย 
  3. อยากรู้อยากเห็นอย่างจริงจัง ชอบซักถาม 
  4. มีเหตุผลในการแก้ปัญหา  การใช้สามัญสำนึก
  5. จดจำได้รวดเร็วและแม่นยำ
  6. มีความรู้ ใช้คำศัพท์เกินวัย
  7. มีความคิดริเริ่ม มีวิธีการคิดและแนวคิดแปลกๆ
  8. เป็นคนตื่นตัว เฉียบแหลม ว่องไว และช่างสังเกต 
  9. มีแรงจูงใจ และมีความมานะบากบั่นมีความจริงจังในการทำงาน 
  10. ชอบแสวงหาสิ่งท้าทายความคิดความอ่าน
เด็กฉลาด
  1. ตอบคำถาม
  2. สนใจเรื่องที่ครูสอน
  3. ชอบอยู่กับเด็กอายุเท่ากัน                                 
  4. ความจำดี
  5. เรียนรู้ง่ายและเร็ว                                            
  6. เป็นผู้ฟังที่ดี 
  7. พอใจในผลงานของตน                
Gifted 
  1. ตั้งคำถาม 
  2. เรียนรู้สิ่งที่สนใจ
  3. ชอบอยู่กับผู้ใหญ่หรือเด็กที่โตกว่า
  4. อยากรู้อยากเห็น ชอบคาดคะเน
  5. เบื่อง่าย  
  6. ชอบเล่า 
  7. ติเตียนผลงานของตน
กลุ่มเด็กที่มีลักษณะทางความบกพร่อง
  1. เด็กที่บกพร่องทางสติปัญญา 
  2. เด็กที่บกพร่องทางการได้ยิน 
  3. เด็กที่บกพร่องทางการเห็น 
  4. เด็กที่บกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ 
  5. เด็กที่บกพร่องทางการพูดและภาษา 
  6. เด็กที่บกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ 
  7. เด็กที่บกพร่องทางการเรียนรู้ 
  8. เด็กออทิสติก 
  9. เด็กพิการซ้อน 
1. เด็กที่บกพร่องทางสติปัญญา (Children with Intellectual Disabilities)
    หมายถึง เด็กที่มีระดับสติปัญญา หรือเชาว์ปัญญาต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ยเมื่อเทียบเด็กในระดับอายุเดียวกัน มี 2 กลุ่ม คือ เด็กเรียนช้า และเด็กปัญญาอ่อน
เด็กเรียนช้า
 - สามารถเรียนในชั้นเรียนปกติได้
 - เด็กที่มีความสามารถในการเรียนล่าช้ากว่าเด็กปกติ
 - ขาดทักษะในการเรียนรู้
 - มีความบกพร่องทางสติปัญญาเพียงเล็กน้อย
 - มีระดับสติปัญญา (IQ) ประมาณ 71-90
สาเหตุของการเรียนช้า
  1. ภายนอก

  • เศรษฐกิจของครอบครัว
  • การสร้างเสริมประสบการณ์ให้แก่เด็ก
  • สภาวะทางด้านอารมณ์ของคนในครอบครัว
  • การเข้าเรียนไม่สม่ำเสมอ
  • วิธีการสอนไม่มีประสิทธิภาพ
  2. ภายใน
  • พัฒนาการช้า
  • การเจ็บป่วย
 เด็กปัญญาอ่อน
      1.ระดับสติปัญญาต่ำ
      2.พัฒนาการล่าช้าไม่เหมาะสมกับวัย
      3.มีพฤติกรรมการปรับตนบกพร่อง

      4.อาการแสดงก่อนอายุ 18



  
เด็กปัญญาอ่อน
พฤติกรรมการปรับตน
  1. การสื่อความหมาย
  2. การดูแลตนเอง 
  3. การดำรงชีวิตภายในบ้าน
  4. การปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นในสังคม 
  5. การใช้แหล่งทรัพยากรในชุมชน
  6. การควบคุมตนเอง
  7. การนำความรู้มาใช้ในชีวิตประจำวัน
  8. การใช้เวลาว่าง
  9. การทำงาน
  10. การมีสุขอนามัยและความปลอดภัยเบื้องต้น
เด็กปัญญาอ่อน แบ่งตามระดับสติปัญญา (IQ) ได้ 4 กลุ่ม
  1.เด็กปัญญาอ่อนขนาดหนักมาก IQ ต่ำกว่า 20
  • ไม่สามารถเรียนรู้ทักษะด้านต่าง ๆ ได้เลย 
  • ต้องการเฉพาะการดูแลรักษาพยาบาลเท่านั้น
  2. เด็กปัญญาอ่อนขนาดหนัก IQ 20-34 
  • ไม่สามารถเรียนได้ ต้องการเฉพาะการฝึกหัดการช่วยเหลือตัวเองในกิจวัตรประจำวันเบื้องต้นง่าย ๆ
  • กลุ่มนี้เรียกโดยทั่วไปว่า C.M.R (Custodial Mental Retardation)
  3. เด็กปัญญาอ่อนขนาดปานกลาง IQ 35-49
  • พอที่จะฝึกอบรมและเรียนทักษะเบื้องต้นง่าย ๆ ได้ 
  • สามารถฝึกอาชีพ หรือทำงานง่าย ๆ ที่ไม่ต้องใช้ความละเอียดลออได้ 
  • เรียกโดยทั่วไปว่า T.M.R (Trainable Mentally Retarded) 
  4. เด็กปัญญาอ่อนขนาดน้อย IQ 50-70
  • เรียนในระดับประถมศึกษาได้ 
  • สามารถฝึกอาชีพและงานง่าย ๆ ได้ 
  • เรียกโดยทั่ว ๆ ไปว่า E.M.R (Educable Mentally Retarded)
ลักษณะของเด็กที่บกพร่องทางสติปัญญา
  1. ไม่พูด หรือพูดได้ไม่สมวัย
  2. ช่วงความสนใจสั้น วอกแวก
  3. ความคิด และอารมณ์ เปลี่ยนแปลงง่าย รอคอยไม่ได้
  4. ทำงานช้า
  5. รุนแรง ไม่มีเหตุผล
  6. อวัยวะบางส่วนมีรูปร่างผิดปกติ กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน
  7. ช่วยตนเองได้น้อยกว่าเด็กในวัยเดียวกัน
       
ดาวน์ซินโดรม Down Syndrome


สาเหตุ
   1.ความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 21
   2.ที่พบบ่อยคือโครโมโซมคู่ที่21 เกินมา1แท่ง(Trisomy21)

อาการ
  • ศีรษะเล็กและแบน  คอสั้น 
  • หน้าแบน ดั้งจมูกแบน 
  • ตาเฉียงขึ้น ปากเล็ก 
  • ใบหูเล็กและอยู่ต่ำ รูหูส่วนนอกจะตีบกว่าปกติ
  • เพดานปากโค้งนูน ขากรรไกรบนไม่เจริญเติบโต 
  • ช่องปากแคบ ลิ้นยื่น ฟันขึ้นช้าและไม่เป็นระเบียบ 
  • มือแบนกว้าง นิ้วมือสั้น 
  • เส้นลายมือตัดขวาง นิ้วก้อยโค้งงอ 
  • ช่องระหว่างนิ้วเท้าที่ 1 และ 2 กว้าง
  • มีความผิดปกติในระบบต่างๆ ของร่างกาย
  • บกพร่องทางสติปัญญาระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง
  • อารมณ์ดีเลี้ยงง่าย ร่าเริง เป็นมิตร
  • มีปัญหาในการใช้ภาษาและการพูด
  • อวัยวะเพศมักเจริญเติบโตไม่เต็มที่ทั้งในชายและหญิง
การตรวจวินิจฉัยก่อนคลอดกลุ่มอาการดาวน์
  • การเจาะเลือดของมารดาในระหว่างที่ตั้งครรภ์ 
  • อัลตราซาวด์  
  • การตัดชิ้นเนื้อรก
  • การเจาะน้ำคร่ำ
2. เด็กที่บกพร่องทางการได้ยิน (Children with Hearing Impaired )
       หมายถึง เด็กที่มีความบกพร่อง หรือสูญเสียการได้ยิน เป็นเหตุให้การรับฟังเสียงต่างๆได้ไม่ชัดเจน มี 2 ประเภท คือ เด็กหูตึง และ เด็กหูหนวก

       เด็กหูตึง หมายถึง เด็กที่สูญเสียการได้ยิน แต่สามารถรับข้อมูลได้ โดยใช้เครื่องช่วยฟังมี 4 กลุ่ม
1.เด็กหูตึงระดับน้อย ได้ยินตั้งแต่ 26-40 dB

  • เด็กจะมีปัญหาในการรับฟังเสียงเบา ๆ เช่น เสียงกระซิบ หรือเสียงจากที่ไกล ๆ 
2.เด็กหูตึงระดับปานกลาง ได้ยินตั้งแต่ 41-55 dB
  • เด็กจะมีปัญหาในการรับฟังเสียงพูดคุยที่ดังในระดับปกติในระยะห่าง 3-5 ฟุต และไม่เห็นหน้าผู้พูด 
  • จะไม่ได้ยิน ได้ยินไม่ชัด จับใจความไม่ได้    
  • มีปัญหาในการพูดเล็กน้อย เช่น พูดไม่ชัด ออกเสียงเพี้ยน พูดเสียงเบา หรือเสียงผิดปกติ
3.เด็กหูตึงระดับมาก ได้ยินตั้งแต่ 56-70 dB  
  • เด็กจะมีปัญหาในการรับฟังและเข้าใจคำพูด     
  • เมื่อพูดคุยกันด้วยเสียงดังเต็มที่ก็ยังไม่ได้ยิน    
  • มีปัญหาในการรับฟังเสียงหลายเสียงพร้อมกัน    
  • มีพัฒนาการทางภาษาและการพูดช้ากว่าปกติ    
  • พูดไม่ชัด เสียงเพี้ยน บางคนไม่พูด
4.เด็กหูตึงระดับรุนแรง ได้ยินตั้งแต่ 71-90 dB
  • เด็กจะมีปัญหาในการรับฟังเสียงและการเข้าใจคำพูดอย่างมาก   
  • ได้ยินเฉพาะเสียงที่ดังใกล้หูในระยะ 1 ฟุต  
  • การพูดคุยด้วยต้องตะโกนหรือใช้เครื่องขยายเสียง   
  • เด็กจะมีปัญหาในการแยกเสียง   
  • เด็กมักพูดไม่ชัดและมีเสียงผิดปกติ บางคนไม่พูด
เด็กหูหนวก  
  1. เด็กที่สูญเสียการได้ยินมากถึงขนาดที่ทำให้หมดโอกาสที่จะเข้าใจภาษาพูดจากการได้ยิน   
  2. เครื่องช่วยฟังไม่สามารถช่วยได้   
  3. ไม่สามารถเข้าใจหรือใช้ภาษาพูดได้    
  4. ระดับการได้ยินตั้งแต่ 91 dB ขึ้นไป
ลักษณะของเด็กที่บกพร่องทางการได้ยิน
  1. ไม่ตอบสนองเสียงพูด เสียงดนตรี มักตะแคงหูฟัง
  2. ไม่พูด มักแสดงท่าทาง
  3. พูดไม่ถูกหลักไวยากรณ์
  4. พูดด้วยเสียงแปลก มักเปล่งเสียงสูง
  5. พูดด้วยเสียงต่ำหรือด้วยเสียงที่ดังเกินความจำเป็น
  6. เวลาฟังมักจะมองปากของผู้พูด หรือจ้องหน้าผู้พูด
  7. รู้สึกไวต่อการสั่นสะเทือน และการเคลื่อนไหวรอบตัว
  8. มักทำหน้าที่เด๋อเมื่อมีการพูดด้วย
3.เด็กที่บกพร่องทางการเห็น (Children with Visual Impairments)
  1.  เด็กที่มองไม่เห็นหรือพอเห็นแสง เห็นเลือนราง
  2.  มีความบกพร่องทางสายตาทั้งสองข้าง
  3.  สามารถเห็นได้ไม่ถึง 1/10 ของคนสายตาปกติ
  4.  มีลานสายตากว้างไม่เกิน 30 องศา 
**จำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ เด็กตาบอด และ เด็กตาบอดไม่สนิท
   เด็กตาบอด
  1. เด็กที่ไม่สามารถมองเห็นได้เลย หรือมองเห็นบ้าง   
  2. ต้องใช้ประสาทสัมผัสอื่นในการเรียนรู้    
  3. มีสายตาข้างดีมองเห็นได้ในระยะ 6/60 , 20/200 ลงมาจนถึงบอดสนิท    
  4. มีลานสายตาโดยเฉลี่ยอย่างสูงสุดแคบกว่า 5 องศา
    เด็กตาบอดไม่สนิท
  1. เด็กที่มีความบกพร่องทางสายตา  
  2. สามารถมองเห็นบ้างแต่ไม่เท่ากับเด็กปกติ  
  3. เมื่อทดสอบสายตาข้างดีจะอยู่ในระดับ 6/18, 20/60, 6/60, 20/200 หรือน้อยกว่านั้น   
  4. มีลานสายตาโดยเฉลี่ยอย่างสูงสุดกว้างไม่เกิน 30 องศา 
ลักษณะของเด็กบกพร่องทางการเห็น
  1. เดินงุ่มง่าม ชนและสะดุดวัตถุ
  2. มองเห็นสีผิดไปจากปกติ
  3. มักบ่นว่าปวดศีรษะ คลื่นไส้ ตาลาย คันตา
  4. ก้มศีรษะชิดกับงาน หรือของเล่นที่วางอยู่ตรงหน้า
  5. เพ่งตา หรี่ตา หรือปิดตาข้างหนึ่ง เมื่อใช้สายตา
  6. ตาและมือไม่สัมพันธ์กัน
  7. มีความลำบากในการจำ และแยกแยะสิ่งที่เป็นรูปร่างทางเรขาคณิต

ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียนในขณะที่อาจารย์สอนและตอบคำถามทุกครั้ง
ประเมินเพื่อน : เพื่อน ๆ ตั้งใจเรียนและไม่คุยกันในเวลาเรียน
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์เตรียมการสอนมาดีมาก การเรียนเป็นไปอย่างเป็นลำดับขั้นตอน มีเทคนิคการสอนที่น่าสนใจ สามารถอธิบายและยกตัวอย่างให้นักศึกษาได้เข้าใจมากยิ่งขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น